3.ความสัมพันธ์กับภายนอกอาเซียน
3.1
ความสัมพันธ์อาเซียนกับประเทศคู่เจรจา
อาเซียนมุ่งเน้นความร่วมมือภายนอก
โดยมีความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partners) 10 ประเทศ
คือ ออสเตรเลีย แคนนาดา จีน อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐเกาหลี รัสเซีย
สหรัฐฯ และสภาพยุโรป
และกับสหประชาชาติเพื่อทำให้เกิดสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศในภูมิภาคที่เอื้ออำนวยต่อกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน
1. อาเซียน- ออสเตรเลีย อ่านต่อ
2. อาเซียน- นิวซีแลนด์ อ่านต่อ
3. อาเซียน- ญี่ปุ่น อ่านต่อ
4 .อาเซียน- แคนาดา อ่านต่อ
5. อาเซียน- สหรัฐอเมริกา อ่านต่อ
6. อาเซียน- สหภาพยุโรป อ่านต่อ
7 .อาเซียน- เกาหลีใต้ อ่านต่อ
8. อาเซียน- จีน อ่านต่อ
9 .อาเซียน- รัสเซีย อ่านต่อ
10. อาเซียน- อินเดีย อ่านต่อ
11. อาเซียนกับสหประชาชาติ
3.2 อาเซียน + 3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี)
กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 (ASEAN+3) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม
3 ประเทศ คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก
(East Asian Community) โดยให้อาเซียนและกระบวนการต่างๆ
ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย
เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการจัดตั้งกรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสามเมื่อปี
2007 (พ.ศ.2550)
ผู้นำของประเทศสมาชิกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 2 (Second Joint Statement on East Asia Cooperation: Building on the Foundations of ASEAN Plus Three Cooperation) พร้อมกับเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน (ASEAN+3 Cooperation Work Plan (2007 – 2017)) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระยะยาว และผลักดันให้เกิดชุมชนอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา และด้านการส่งเสริมกรอบการดำเนินงานในด้านต่างๆและกลไกต่างๆ ในการติดตามผล โดยแผนความร่วมมือดังกล่าวทั้ง 5 ด้านนี้ ถือเป็นการประสานความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนกับประเทศในเอเชียตะวันออกมากยิ่งขึ้น
อาเซียน +3 ประกอบด้วยสมาชิก 13 ชาติ คือ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน รวมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านคน หรือหนึ่งในสามของประชากรโลก แต่เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เข้าด้วยกัน จะทำให้มีมูลค่าถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 16 ของจีดีพีโลก ขณะที่ยอดเงินสำรองต่างประเทศรวมกันจะสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมากกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสำรองต่างประเทศของโลก โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจเหล่านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอาเซียน+3 จะมีบทบาทเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
จากความร่วมมือดังกล่าวประเทศสมาชิกอาเซียน จะได้รับผลประโยชน์จากความร่วมมือในกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียนบวก+3 (FTA Asian +3) มูลค่าประมาณ 62,186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และประเทศไทยในฐานะสมาชิกอาเซียนจะได้รับประโยชน์มากที่สุด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,943 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อินโดนีเซียมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน คือประมาณ 7,884 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเวียดนามคาดว่าจะได้รับประโยชน์มูลค่าประมาณ 5,293 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน + 3 สมัยพิเศษ (Special ASEAN+3 Financial Ministers Meeting) ที่ จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา ได้มีการสนับสนุนการใช้เวทีหารือด้านนโยบายและกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ของภูมิภาคอาเซียน อาทิ ข้อริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐมนตรีคลังสนับสนุนให้มีกระบวนการเฝ้าระวัง โดยร่วมมือกับสถาบันการเงินในภูมิภาคและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งข้อริเริ่มเชียงใหม่ ที่รัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 จำเป็นจะต้องเร่งรัดกระบวนการไป สู่ระดับพหุภาคี เพื่อเป็นกันชนรองรับเศรษฐกิจอ่อนแอในอนาคต
ทั้งนี้ที่ประชุมมีข้อสรุปว่า จะขยายผลความตกลงริเริ่มเชียงใหม่ในการจัดตั้งกองทุนสำรองระหว่างประเทศร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน (Currency Swap) จากเดิม 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท เบื้องต้นคาดว่า 3 ประเทศนอกกลุ่มอาเซียน คือจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น จะลงเงินสำรองร้อยละ 80 ของวงเงิน รวม หรือ 9.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และกลุ่มประเทศอาเซียนอีกร้อยละ 20 หรือ 2.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกองทุนดังกล่าวจะมีรูปแบบคล้ายกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund :IMF) แต่ก็ไม่ใช่คู่แข่งของ IMF แต่จะเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งของเอเชียที่จะมีกองทุนระหว่างประเทศเป็นของตนเอง โดยประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ลงเงินรวมกันประมาณร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 ที่เหลือกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ จะลงทุนร่วมกัน ขณะที่ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จะต้องใส่เงินลงทุนมากกว่าอีก 5 ประเทศ คือ บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา เนื่องจากมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า โดยคาดว่าจะสามารถเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณารัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 วาระปกติที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนพฤษภาคม 2552
ผู้นำของประเทศสมาชิกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 2 (Second Joint Statement on East Asia Cooperation: Building on the Foundations of ASEAN Plus Three Cooperation) พร้อมกับเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน (ASEAN+3 Cooperation Work Plan (2007 – 2017)) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระยะยาว และผลักดันให้เกิดชุมชนอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา และด้านการส่งเสริมกรอบการดำเนินงานในด้านต่างๆและกลไกต่างๆ ในการติดตามผล โดยแผนความร่วมมือดังกล่าวทั้ง 5 ด้านนี้ ถือเป็นการประสานความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนกับประเทศในเอเชียตะวันออกมากยิ่งขึ้น
อาเซียน +3 ประกอบด้วยสมาชิก 13 ชาติ คือ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน รวมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านคน หรือหนึ่งในสามของประชากรโลก แต่เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เข้าด้วยกัน จะทำให้มีมูลค่าถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 16 ของจีดีพีโลก ขณะที่ยอดเงินสำรองต่างประเทศรวมกันจะสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมากกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสำรองต่างประเทศของโลก โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจเหล่านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอาเซียน+3 จะมีบทบาทเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
จากความร่วมมือดังกล่าวประเทศสมาชิกอาเซียน จะได้รับผลประโยชน์จากความร่วมมือในกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียนบวก+3 (FTA Asian +3) มูลค่าประมาณ 62,186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และประเทศไทยในฐานะสมาชิกอาเซียนจะได้รับประโยชน์มากที่สุด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,943 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อินโดนีเซียมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน คือประมาณ 7,884 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเวียดนามคาดว่าจะได้รับประโยชน์มูลค่าประมาณ 5,293 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน + 3 สมัยพิเศษ (Special ASEAN+3 Financial Ministers Meeting) ที่ จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา ได้มีการสนับสนุนการใช้เวทีหารือด้านนโยบายและกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ของภูมิภาคอาเซียน อาทิ ข้อริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐมนตรีคลังสนับสนุนให้มีกระบวนการเฝ้าระวัง โดยร่วมมือกับสถาบันการเงินในภูมิภาคและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งข้อริเริ่มเชียงใหม่ ที่รัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 จำเป็นจะต้องเร่งรัดกระบวนการไป สู่ระดับพหุภาคี เพื่อเป็นกันชนรองรับเศรษฐกิจอ่อนแอในอนาคต
ทั้งนี้ที่ประชุมมีข้อสรุปว่า จะขยายผลความตกลงริเริ่มเชียงใหม่ในการจัดตั้งกองทุนสำรองระหว่างประเทศร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน (Currency Swap) จากเดิม 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท เบื้องต้นคาดว่า 3 ประเทศนอกกลุ่มอาเซียน คือจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น จะลงเงินสำรองร้อยละ 80 ของวงเงิน รวม หรือ 9.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และกลุ่มประเทศอาเซียนอีกร้อยละ 20 หรือ 2.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกองทุนดังกล่าวจะมีรูปแบบคล้ายกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund :IMF) แต่ก็ไม่ใช่คู่แข่งของ IMF แต่จะเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งของเอเชียที่จะมีกองทุนระหว่างประเทศเป็นของตนเอง โดยประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ลงเงินรวมกันประมาณร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 ที่เหลือกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ จะลงทุนร่วมกัน ขณะที่ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จะต้องใส่เงินลงทุนมากกว่าอีก 5 ประเทศ คือ บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา เนื่องจากมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า โดยคาดว่าจะสามารถเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณารัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 วาระปกติที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนพฤษภาคม 2552
3.3 อาเซียน +6
ก่อนที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Association of South East Asian Nations : ASEAN) หรือ
ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 เราทุกคนควรรู้จักเกร็ดข้อมูลต่าง
ๆ เกี่ยวกับอาเซียนให้มากขึ้น และที่กระปุกดอทคอม จะขอพาเพื่อน ๆ
ไปทำความรู้จักกันในวันนี้ก็คือ เรื่องราวของ "อาเซียน +6" ที่ได้ยินชื่อกันบ่อย ๆ แต่หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า "อาเซียน +6"
นี้คืออะไร หากใครยังไม่รู้จัก ตามมาอ่านกันเลย
อาเซียน +6 จัดตั้งขึ้นเพื่ออะไร
สำหรับ "อาเซียน +6" ก็คือ การรวมกลุ่มกันของ 16 ประเทศ ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ
ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม, พม่า, กัมพูชา,
อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ลาว, สิงคโปร์,
ไทย และเวียดนาม รวมกับประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอีก 6 ประเทศ คือ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้,
ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย
ซึ่งหากนับจำนวนประชากรในกลุ่มนี้แล้ว จะพบว่า อาเซียน +6 มีประชากรรวมกันกว่า
3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 50% ของประชากรโลกเลยทีเดียว หลายคนอาจจะสงสัยว่า
ทำไมอาเซียนต้องรวมกลุ่มกับอีก 6 ประเทศนอกอาเซียนด้วย คำตอบก็คือ การรวมกลุ่มอาเซียน +6 นี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มในการลงทุน การทำการค้า ฯลฯ
ให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ เช่น สหภาพยุโรป
นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมทำข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี
ด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น
พร้อมกับผนวกกำลังของแต่ละกลุ่มการค้าเข้าด้วยกัน เพื่อให้กลุ่มประเทศอาเซียนสามารถดำเนินเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น
ความเป็นมาของ อาเซียน +6
ที่มาของแนวคิด "อาเซียน +6" นี้
เริ่มขึ้นครั้งแรกในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-METI)
และ AEM+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ณ
กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 โดยญี่ปุ่นเสนอให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาควิชาการ (Track II) ของกลุ่มประเทศ East Asia Summit (EAS ประกอบด้วยอาเซียน
จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย)
ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Comprehensive Economic Partnership
in East Asia (CEPEA) ซึ่งเป็น FTA ระหว่างประเทศอาเซียน+6
(จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) จากนั้น ในการประชุม East Asia Summit ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่
15 มกราคม พ.ศ. 2550 ณ เมืองเชบู
ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ประชุมก็มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการศึกษาเรื่องดังกล่าว
โดยประเทศญี่ปุ่นได้จัดประชุมร่วมกันระหว่างนักวิชาการซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศครั้งแรกในเดือนมิถุนายน
พ.ศ. 2550 เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6
(CEPEA)
ทั้งนี้ กลุ่มนักวิชาการได้ประชุมร่วมกันทั้งหมด
6 ครั้ง ระหว่างปี พ.ศ. 2550 – พ.ศ.
2551 ก่อนจะได้ผลสรุปว่า
หากมีการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้เกิดความสะดวกในด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ
พลังงาน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อได้ข้อสรุปดังนี้
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงมีมติให้ศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) ในระยะที่ 2 โดยเน้นเรื่องความร่วมมือ
(Cooperation), การอำนวยความสะดวก (Facilitation) และการเปิดเสรี (Liberalization) ที่จะช่วยสร้างความสามารถของประเทศสมาชิก
เพื่อรองรับการเปิดเสรีภายใต้อาเซียน+6 (CEPEA)
ทั้งนี้ ในการประชุมเมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญก็ได้ข้อสรุปว่า
การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) ควรให้ความสำคัญเรื่องความร่วมมือเป็นอันดับแรก
พร้อมกับเน้นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละประเทศ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Transfer
of Technology) และสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs) รวมทั้งควรพิจารณาจัดตั้งกองทุนเอเชียตะวันออก
เพื่อช่วยรองรับโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น
และสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาต่อไป
ประโยชน์ของการรวมกลุ่มอาเซียน +6
จากรายงานการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
เมื่อปี พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552
พบว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6
(CEPEA) จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศเอเชียตะวันออกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.11% หรือหากวัดเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว
ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จะเพิ่มขึ้น 3.83% และเมื่อดูเฉพาะของประเทศไทยแล้วจะพบว่า
ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึง 4.78% เลยทีเดียว
ในขณะที่ประเทศ+6 มีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มขึ้น 2.6%
นอกจากนี้ อาเซียน +6 จะช่วยปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิก
ดังนี้
1. ขยายอุปสงค์ภายในภูมิภาค
(Domestic demand within the region)
2. เพิ่มประสิทธิผลทางเศรษฐกิจในภูมิภาค
โดยเน้นความชำนาญในการผลิตสินค้าของแต่ละประเทศ (Product specialization)
3. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศสมาชิก
โดยเฉพาะเรื่อง Logistics ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จะนำไปสู่การลดช่องว่างของระดับการพัฒนาในแต่ละประเทศสมาชิก
รวมถึงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่แน่นเฟ้นยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ CEPEA จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกรรมทางการค้าลง อันเนื่องมาจากกฎระเบียบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (Harmonized market rules) ดังจะเห็นได้ว่า หัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดการร่วมกลุ่มกันเป็นอาเซียน +6 ก็คือ ผลประโยชน์ทางด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่า การรวมกลุ่มกันเช่นนี้จะช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ประโยชน์มหาศาล อีกทั้งยังเป็นการยกระดับขีดความสามารถของแต่ละประเทศให้สูงขึ้น เพื่อแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้อีกด้วย
นอกจากนี้ CEPEA จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกรรมทางการค้าลง อันเนื่องมาจากกฎระเบียบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (Harmonized market rules) ดังจะเห็นได้ว่า หัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดการร่วมกลุ่มกันเป็นอาเซียน +6 ก็คือ ผลประโยชน์ทางด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่า การรวมกลุ่มกันเช่นนี้จะช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ประโยชน์มหาศาล อีกทั้งยังเป็นการยกระดับขีดความสามารถของแต่ละประเทศให้สูงขึ้น เพื่อแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้อีกด้วย
อาเซียน +6 ได้แก่
1)จีน
2)ญี่ปุ่น
3)เกาหลีใต้
4)ออสเตรเลีย
5) นิวซีแลนด์
6)อินเดีย
2)ญี่ปุ่น
3)เกาหลีใต้
4)ออสเตรเลีย
5) นิวซีแลนด์
6)อินเดีย
3.4 อาเซียน +8
จากอาเซียน+6 เป็น +8 ได้แก่
1)จีน
2)ญี่ปุ่น
3)เกาหลีใต้
4)ออสเตรเลีย
5) นิวซีแลนด์
6)อินเดีย
7)รัสเซีย
8)สหรัฐอมริกา
อาเซียน +8 จะส่งผลดีต่อการส่งออก การเกษตร และอุตสาหกรรม สามารถตีตลาดเสรีทั่วโลก ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจการค้าของอาเซียนและไทย
3.5
การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
การประชุมสุดยอดอาเซียนตะวันออก ( East Asia Summit-EAS ) เดิมที่เป็นข้อริเริ่มในกรอบอาเซียน
+3 โดยจะเป็นวิวัฒนาการของการประชุมสุดยอดอาเซียน +3 ไปสู่สุดยอดอาเซียนตะวันออก อย่างไรก็ดีอาเซียนเห็นว่า ควรเปิดกว้าง ให้ประเทศนอกกลุ่มอาเซียน
+3 เข้าร่วมด้วยโดยได้กำหนดหลักเกณฑ์ 3
ประการสำหรับการเข้าร่วมได้แก่
(1) การเป็นคู่ เจรจาเต็มตัวของอาเซียน
(2) การมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับอาเซียน
(3) การภาคยานุวัติ ( Treaty of Amity and Cooperation in Southeast
Asia TAC )
ในปัจจุบันมีประเทศเข้าร่วมใน EAS จำนวน 16 ประเทศ
ได้แก่ อาเซียน 10 ประเทศ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น
สาธารณรัฐเกาหลี และนิวซีแลน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น